SENSOR

เบื้องหลังความอัจฉริยะของสมาร์ทโฟน

ในยุค 2021 ยุคที่มือถือกลายเป็นเครื่องมือที่เราต้องมีติดตัวกันแทบจะทุกคน และใช้กันทุกวัน ขาดแทบไม่ได้เลย

ในยุคนี้จะเห็นได้ว่า มีการแข่งขันการพัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ของค่ายแต่ละค่ายที่มีอยู่ในตลาดอย่างเข้มข้น มีฟีเจอร์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน แต่ฟีเจอร์ล้ำๆพวกนั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต้องอาศัยการทำงานของ sensor ร่วมด้วย นี้จึงเป็นที่มาของบทความนี้เราจะมาพูดถึง sensor ที่สำคัญบางตัวใน smartphone กัน (sensor บางตัวอาจจะมีเฉพาะ มือถือบางรุ่น)

เรามาเริ่มกันที่ sensor ที่ทุกคนใช้ประจำกันเลยนั้นคือ...

touch screen Sensor

มันเป็นตัวที่คอยรับค่าตำแหน่งบนหน้าจอ เมื่อเราแตะนิ้วลงบนจอตัว sensor จะส่งต่ำแหน่งที่นิ้วแตะไปให้ cpu รู้ว่าเราแตะตรงไหน cpu ก็จะนำไปประมวลผลต่อว่าตรงตำแหน่งนั้นมีอะไรอยู่จะให้เปิดหรือแสดงอะไรก็ขึ้นอยู่กับ cpu อีกที

Fingerprint Sensor

หลายๆคนอาจไม่คุ้นชื่อ ถ้าบอกว่ามันคือ touch id หรือ สแกนนิ้ว คงอ๋อกันนั้นแหละครับมันคือตัวที่เทียบลายนิ้วมือว่าตรงกับที่เราเคยบันทึกไว้หรือไม่

มี Touch id ก็ต้องมี Face id เทคโนโลยีที่เหนือกว่า นี้ก็เป็นอีก1อันที่ถูกพัฒนาขึ้นจากการแข่งขัน  ฟีเจอร์นี้ต้องใช้หลาย sensor ในการทำงานนั้นก็คือ

  1. Dot Projector ตัวยิงแสงเล็กๆไปทัวใบหน้า 30,000จุด
  2. Infrared camera ตัวอ่านค่าโครงสร้างใบหน้าแล้ววิเคราะห์ ความลึก องศา เพื่อสร้างเป็น Depth map
  3. Flood Illuminator จะเป็นเครื่องฉายแสงอ่อน ๆ มาที่หน้าเราเพื่อให้เซนเซอร์ตัวอื่น ๆ ทำงานได้ดีขึ้น

พอทุกตัวได้ค่าจากการ scan ค่าก็จะถูกส่งไปที่ cpu เพื่อประมวลว่าตรงกับที่เคยบันทึกไว้หรือไม่

Proximity Sensor

เซ็นเซอร์ที่มีไว้สำหรับการตรวจจับระยะห่างระหว่างตัวเครื่อง กับ ผู้ใช้ เพื่อการตอบสนองที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น เวลาเรายกโทรศัพท์มาแนบหูตัว Proximity Sensor ก็จะตรวจระยะห่างเพื่อปิดหน้าจอชั่วคราว พอยกออกห่างก็จะสั่งให้จอติดเหมือนเดิม

Accelerator Sensor

คือเซ็นเซอร์สำหรับตรวจจับลักษณะการเคลื่อนไหวของโทรศัพท์ โดยเป็นการตรวจจับแบบ 3 แกน (3-Axes) ประโยชน์ก็คือการปรับทิศทางการแสดงผล หรือการใช้งานที่ต้องอาศัยการเอียงเครื่องไปในทิศทางต่างๆ เกมหลายๆเกมก็เอาค่าจาก Accelerator Sensor ไปประมวลผลประกอบการเล่นอีกด้วย เช่น เกมแข่งรถ เกมยิงปืนที่โดดร่ม (เผื่อจะมีสปอนเซอร์เกมเข้าบ้าง)

Geomagnetic Sensor

เซ็นเซอร์ที่มีไว้ตรวจจับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรืออีกที่เรียกกันจนคุ้นหูว่าเข็มทิศดิจิตอล (Digital Compass) โดยจะเป็นการตรวจจับแบบ 3 แกน (3-Axes) ซึ่งจะมีประโยชน์มากสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นแผนที่ หรือระบบนำทางต่างๆ รวมถึงแอพพลิเคชั่นประเภท AR Applications (Augmented Reality) ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลทิศทางที่ถูกต้องแม่นยำ

จาก sensor ที่นำเสนอข้างต้นเป็นเพียง sensor แค่ไม่กี่ตัวในมือถือที่เราใช้กันทุกวัน ยังคงมี sensor อีกหลายตัว ที่เรายังไม่ได้กล่าวถึงจะเห็นได้ว่าความอัจฉริยะของมือถือ นั้นล้วนเกินมาจาก sensor ที่คอยรับค่าเพื่อส่งไปประมวลผลจนเกิดเป็นกระบวลการการทำงานขึ้นมา สำหรับบทความแรก (ก่อนที่เราจะลงมือสร้าง application) ทำความรู้จักก่อนนำไปใช้ ไว้เพียงเท่านี้ก่อน อยากสร้าง application เป็นโปรดติดตามบทความต่อไป

เขียนบทความโดย พงษ์สธร อาญาบัตร