จากตอนที่ 1 เห็นว่าตัวอย่างที่มีปัญหาจาก Capacitor มีแต่รถญี่ปุ่น ตรูเก็บรถยุโรป ตรูรอดดดดดด !!!! ไม่รอดครับเจ็บหนักเหมือนกัน บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์เกือบๆ ทุกบอร์ดในโลกนี้ใช้ต้องมีตัวเก็บประจุ และเกิน 99.9% ที่ต้องมี C แบบอิเล็กทรอไลค์ในบอร์ด แต่หลังๆมานี้ผู้ผลิตได้เลี่ยงที่จะใช้ C ประเภทนี้โดยหันไปใช้แบบอื่นที่มีอายุใช้งานที่นานกว่าเช่น C แทนทาลั่ม (คนยุค 90’s น่าจะจำโรงงานผลิตแทนทาลั่มที่โดนเผาในบ้านเราได้นะครับ) C แบบไมล่าร์ , C แบบเซรามิคส์ เป็นต้น
กล่องในยุค 90’s อย่าง HONDA NSX ก็มีวิธีแก้ปัญหา แบบที่ผมไม่เคยเห็นมาก่อนในชีวิตคือ ใช้ C แบบอิเล็กทรอไลค์แบบเดิมๆนี่แหละ แต่ป้องกันการรั่วของน้ำยาโดย หล่อเรซิ่นที่ก้น น้ำยาจะไม่สามารถออกมาทำลายแผงวงจรได้ ผ่านมา 25ปี ค่าความจุก็ไม่เปลี่ยน ที่วัดจากค่าเดิม 330uF ค่าที่วัดได้คือ 300uF เปลี่ยนไป 10% ยังอยู่ในเกณท์ผิดผลาด +,- 20% ของ C ประเภทนี้ แต่การแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ ต้นทุนการผลิตจะสูงมากกกกก ก่อนที่ผมจะมาทำ ECU=SHOP ผมรับสร้างเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมมาก่อน แล้วก็เคยสร้างบอร์ด Control เครื่องผลิต Capacitor ตัวนี้แหละ ส่งให้โรงงานในเมืองไทย และส่งไปยังประเทศญี่ปุ่นด้วย เลยพอมีข้อมูลว่า เครื่อง 1 เครื่องจะสร้าง Capacitor ได้ประมาณ 80,000 ตัว/วัน พอต้องมาหยอดเรซินอบแห้ง น่าจะเหลือไม่เกิน 4,000ตัว/วัน (อันนี้เดาล้วนๆ) ต้นทุนการผลิตจะสูงขึ้น 20 เท่า ทำให้ราคาขายต้องสูงขึ้นเยอะแน่นอน
รถยุโรปส่วนใหญ่ออกแบบให้กล่องควบคุมทั้งหลายอยู่ในห้องเครื่องยนต์ ทำให้ความร้อนของกล่องสูงตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ทำงาน เจ้า C อิเล็กทรอไลค์ ก็ยิ่งอายุสั้นลงไปอีก มีเคสนึง เป็นเพื่อนรุ่นพี่มาปรึกษาว่า รถ Benz E-Class กล่องควบคุมมีปัญหา เอารถเข้าศูนย์เสียบตัววิเคราะห์ดูแล้วช่างแจ้งว่า การจุดระเบิดสูบ 2,3 มีปัญหาต้องเปลี่ยนกล่องควบคุมหลายหมื่นบาท ก็เลยส่งกล่องมาให้ช่วยดูหน่อยว่าพอจะซ่อมได้ไหม เปิดมาเจอคราบบน IC สั่งการจุดระเบิด คราบเกิดจาก C ที่มันมีน้ำยาไหลออกมา แล้วไปเกาะที่ขา IC ทำให้ IC ทำงานผิดผลาด งานนี้ถอดออกมาล้าง เปลี่ยน C งานจบครับ
พอเราเปลี่ยนเจ้า C ตัวปัญหาแล้วเราก็ต้องมาดูแลเรื่องระบบไฟฟ้าในรถให้มันสมบูรณ์ กล่องจะได้อยู่กับเรานานๆ จุดแรกที่อยากให้เน้นคือ สายกราวด์ หรือ สายดินต่างๆในรถ อายุเกือบ 30ปี มันก็ต้องมีสนิมเป็นธรรมดา ยิ่งรถทำสีใหม่ ทำสีในห้องเครื่องด้วย อันนี้ตัวดีเลยเพราะอะไรรู้ไหมครับ ปกติสายกราวด์ จะเป็นหางปลาเบอร์ 10 ใช้น็อตตัวผู้ขันหางปลาติดกับ Body รถ พอจะทำสีห้องเครื่องก็ถอดอุปกรณ์ออกหมด รวมทั้งหางปลาสายกราวด์ ขัดทำสี พ่นสีใน Body รวมทั้งเกลียวน็อตตัวเมีย เป็นสีสรรค์สวยงาม ทีนี้ล่ะปัญหาาาาเกิด ทำสีเสร็จประกอบอุปกรณ์ ใส่สายกราวด์ ขันน็อต สตาร์จเครื่อง รถวิ่งไม่ได้ ระบบไฟรวน สะดุดมั่ง หรือสตาร์จไม่ติดเลยก็มี เพราะอะไรครับ…. กราวด์มันไม่ลงตัวถัง เพราะมันติดสีที่พ่นมา อันนี้เน้นว่าต้องขูดสีออกก่อนใส่หางปลา หรือไม่ก็อุดรูน็อตตัวเมียก่อนพ่นสีนะครับ
ระบบไฟฟ้าในรถยนต์มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ แบตเตอรี่ กระแสไหลออกจากขั้วบวก ผ่านฟิวส์ บางจุดผ่านหน้าคอนแท็ครีเลย์ไป คอนเน็คเตอร์ แล้วต่อไปที่อุปกรณ์นั้นๆ แล้วกลับมาลงที่ตัวถังรถ จากตัวถังรถผ่านหางปลามาสายไฟจบลงที่ขั้วลบ แบตเตอรี่ เห็นไหมครับเริ่มจากแบตจบที่แบต เสมือนมันเป็นถังขยะขนาดใหญ่ อุปกรณ์ที่ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ ผมขอแยกเป็น 2 ประเภท 1.แบบแดร็กแล้วไม่ขี้ออกมาให้เป็นภาระกับแบตเตอรี่และอุปกรณ์อื่น 2.แบบแดร็กแล้วขี้ออกมาเป็นปัญหากับแบตเตอรี่และกล่องควบคุมทั้งหลาย
แบบไม่สร้างปัญหา เท่าที่พอจะนึกออกก็มี หลอดไฟแบบไส้ , วิทยุติดรถที่มาจากโรงงาน พวกนี้ไม่สร้างสัญญาณรบกวนออกมา
แบบสร้างปัญหา อันนี้เยอะมากในระบบเกือบทั้งคันก็ว่าได้ เริ่มจากระบบจุดระเบิด , ไฟซีนอล , หัวฉีด , ปัดน้ำฝน , แตรไฟฟ้า , รีเลย์ , วิทยุสื่อสาร , ไดร์ชาร์จ ถึงจะเป็นตัวสร้างพลังงานออกมาชาร์จแบตเตอรี่ โดยใช้การหมุนของเครื่องยนต์เป็นตัวขับเคลื่อนก็ตาม แต่มันสร้างสัญญาณรบกวนได้มากเพราะมันใช้หลักการขดลวดตัดกับสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไฟฟ้าออกมาเป็นกระแสสลับ (AC) ผ่าน Rectifier ออกมาเป็นไฟตรง (DC) แต่มันไม่ใช่ไฟตรงนิ่งๆ พวกนี้จะสร้างสัญญาณรบกวนออกมา เราจะเรียกว่า “Noise” เจ้า Noise พวกนี้แค่ส่วนหนึ่งจะถูกจัดการโดย Capacitor ในอุปกรณ์นั้นๆ แต่ส่วนมากแบตเตอรี่จะรับภาระนั้นไปครับ ด้วย คตท.ภายในของแบตที่ต่ำเลยจัดการได้ค่อนข้างดี แต่แบตเตอรี่เองก็ไม่สามารถจัดการกับสัญญาณรบกวนที่มีความถี่สูงได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ใครเคยติดวิทยุรถยนต์เองบ้าง หรือ เคยได้ยินเสียงดัง หวี่ๆ ตามรอบเครื่องยนต์ ( เสียงรบกวนเกิดจากไฟที่ออกมาจากไดร์ชาร์จนั่นเอง ) ออกมาจากลำโพง ยิ่งรอบสูง ความถี่ยิ่งสูงถูกไหมครับ ต้องแก้โดยการใส่ Chock เสียงถึงจะหายไป นี่เป็นข้อพิสูจน์ว่า แบตเตอรี่มันจัดการกับความถี่สูงๆไม่ดีเท่าไหร่
แล้วเกี่ยวอะไรกับกล่องควบคุม อย่างที่บอกแบตเตอรี่เปรียบเสมือนเป็นถังขยะขนาดใหญ่ แต่ละอุปกรณ์ก็สร้าง Noise แล้วก็เอาไปทิ้งที่แบตเตอรี่ กล่องควบคุมทุกๆใบในรถก็ต้องต่อเข้ากับแบตเตอรี่ถูกไหมครับ เจ้า Noise พวกนี้ก็จะถูกส่งมาที่กล่องไปด้วย
แล้วเกี่ยวอะไรกับกล่องควบคุม อย่างที่บอกแบตเตอรี่เปรียบเสมือนเป็นถังขยะขนาดใหญ่ แต่ละอุปกรณ์ก็สร้าง Noise แล้วก็เอาไปทิ้งที่แบตเตอรี่ กล่องควบคุมทุกๆใบในรถก็ต้องต่อเข้ากับแบตเตอรี่ถูกไหมครับ เจ้า Noise พวกนี้ก็จะถูกส่งมาที่กล่องไปด้วย
แล้ว Noise ส่งผลอย่างไร อันดับแรกก็ตัว C ที่พูดถึงกันตั้งแต่ต้นแหละครับ อายุใช้งานก็จะสั้นลง พังแค่ตัวมันไม่พอ พากลับบ้านเก่าทั้งกล่องก็มี ข้อเสียต่อมาก็กล่องรวน รับสัญญาณจาก Sensor ต่างๆผิดพลาด เครื่องสะดุด แรงม้าหาย น้ำมันเดี๋ยวหนาเดี๋ยวบาง เครื่องเดินไม่ครบสูบแล้วจะกำจัด Noise อย่างไร ต่อตอนหน้าครับ