ช่วงนี้รถยุค 90 มาแรงมากกก มีคนสนใจซื้อหามาครอบครอง ผมก็เป็นหนึ่งในนั้นเหมือนกัน ก็เลยเอาประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยซ่อมกล่องควบคุมในรถยนต์มานานกว่า 20ปี มาแชร์กันครับ    

หลังจากถูกใจรับรถยุค 90 มาครอบครอง หลายคนๆ หรือเกือบทุกคนสนใจในตัวถัง Body , เครื่องยนต์ , ของแต่ง และอื่นๆ แต่สิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่ถูกมองข้ามกันก็คือ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในรถยุค 90 อย่าคิดว่ากล่องในรถมีแต่กล่องคุมเครื่องยนต์อย่างเดียว บางคนบอกว่า “โอ้ยไม่ต้องห่วงใช้กล่องซิ่ง บลาๆๆ” แต่อย่าลืมครับว่าระบบรถทั้งคันมีเป็น 10สิบกล่อง เช่น กล่องคุม ABS , กล่องเครื่องยนต์ ECM , กล่องคุมประตู , กล่องคุมแอร์ , กล่องคุมแผงหน้าปัด วัดรอบวัดความเร็ว , กล่องคุม Body , กล่องกันขโมย , กล่องคุมกระจกไฟฟ้า , เครื่องเสียง และอื่นๆ กล่องพวกนี้มีอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่มีอายุใช้งานไม่กี่พันชั่วโมง ส่วนใหญ่ 2,000 ชั่วโมง ในยุคนั้น ( เทคโนโลยีในยุค 90 ทำได้ขนาดนี้ก็เก่งแล้วครับ รถยุค 90 ผ่านมาถึงปัจจุบันเกือบๆ 30ปี ยังใช้งานได้ถือว่าบุญโข ที่สำคัญอายุอุปกรณ์ตัวนี้ในยุคปัจจุบันปี 2020 ผู้ผลิตยังกำหนดอายุใช้งานอยู่ที่ 2,000 – 10,000 ชั่วโมงอยู่เลย เสริมให้นิดนึงเวลาทดสอบ Spec เขาจะ ป้อนไฟให้อุปกรณ์ตัวนี้เต็ม Spec สมมติ Spec กำหนดว่าทนแรงดันได้ 16Volt เวลาทดสอบก็จะป้อนแรงดัน 16Volt Spec บอกทนอุณหภูมิได้ 85c ก็ทำให้อุณหภูมิถึง 85c แล้วดูว่าเจ้าตัวนี้ทนได้กี่ชั่วโมงก่อนที่จะพัง อายุมันเลยค่อนข้างน้อย ถ้าใช้งานเต็ม Spec 2,000 ชั่วโมงก็เท่ากับ 83 วันเท่านั้นเอง แต่ที่มันอยู่ได้นานเป็นสิบๆปีเพราะเราไม่ได้ใช้งานเต็ม Spec มันนั่นเอง แต่ใช้นานๆไม่เต็ม Spec สุดท้ายมันก็พังอยู่ดี) 

อุปกรณ์ตัวนั้นคือ Capacitor แบบ อิเล็คโทรไลค์ หน้าตาจะเป็นทรงกระบอกมีขา 2 ขา (คล้ายๆลูกระเบิด) ซึ่งมันก็คือระเบิดเวลาดีๆนี่เองในระบบอิเล็คทรอนิกส์ มันทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบ หรือ กำหนดคาบเวลาให้วงจร เวลาทำงานถ้าใช้งานกับไฟเรียบๆนิ่งๆ ตัวนี้บอก ตรูสบาย เก็บอย่างเดียวไม่เดือดร้อน แต่ถ้าเจองานไฟไม่เรียบ เดี๋ยวเข้า เดี๋ยวออก แบบนี้มันเดือดร้อน ยิ่งไฟกระชากมันก็ไม่ค่อยชอบ ยิ่งไฟกระเพื่อมเยอะๆ ตัวมันจะยิ่งร้อนพอยิ่งร้อนจะมีน้ำยาไหลออกมา ทำให้ค่าความจุมันลดลง เช่นจาก 100uF เหลือ 10uF ทำให้คาบเวลาของวงจรเพี้ยน ขึ้นอยู่กับว่าจะอยู่ส่วนไหนของวงจร ถ้าเป็นวงจรภาคจ่ายไฟก็ทำให้ไฟไม่เรียบ วงจรทำงานผิดเพี้ยนไปก็มี แต่อันตรายที่สุดก็คือ น้ำยาที่มันไหลออกมา มันกัดลายทองแดง ขาอุปกรณ์รอบๆตัวมัน บางทีแผ่น PCB ทะลุเลยก็มีเยอะ เท่าที่เคยซ่อมมาพบมากในกล่อง Mitsubishi ตระกูล Ecar หรือ EVO แผ่น PCB ทะลุนิ้วแหย่ได้ก็เคยซ่อมมาแล้ว HONDA พวกกล่อง B16,B18 ก็มีเยอะที่พังเพราะตัวนี้ , กล่อง TOYOTA SUPRA ยิ่งกล่อง 2JZ -GTE ไม่ต้องพูดถึง ขับๆไปสะดุดรอบสูงๆ ก็ตัว Capacitor นี่แหละครับ กัดลายวงจรทะลุ  VIA ต้องส่องด้วยกล้องขยายถึงจะเห็นก็มี พวกแผงหน้าปัดต่างๆ วัดรอบขึ้นบ้างไม่ขึ้นบ้าง ความเร็วเพี้ยน ก็ตัวนี้ทั้งนั้นแล้วทำยังไง ก็เปลี่ยนสิครับ ถ้าพอบักกรีเป็นก็ไม่ยาก ถอดกล่องออกไปร้านขายอะไหล่อิเล็กทรอนิกส์เอาให้เขาดู เดี๋ยวเขาก็หยิบให้ ราคาไม่กี่ตังค์ ที่สำคัญต้องดู Spec ให้เป็น Spec ที่สำคัญๆ มี 3 ค่าคือ   

  1. ความจุ ต้องเท่าของเดิมใกล้เคียงก็ไม่ได้ เช่น 10uF ก็ต้อง 10uF ไม่เอาใกล้เคียง 

  2. แรงดัน เอาอย่างน้อยเท่าเดิม หรือ มากกว่าเดิมยิ่งดีครับเช่น 16V เอา 25V,35V หรือ 50V ใส่แทนได้ไม่มีปัญหา เน้นดูที่ขนาด ต้องลง PCB ได้ เพราะค่า Volt ยิ่งสูงตัวยิ่งใหญ่ 

  3. ทนความร้อน ส่วนใหญ่จะมี 2 ระดับคือ 85c หรือ 105c ถ้าร้านมีแบบ 105c เอา 105c เลยครับ ใส่แทน 85c ได้ 

ที่สำคัญอีกอย่างก็คือก่อนถอด ถ่ายรูปไว้ก่อน เจ้า Capacitor มันมีขั้วบวก, ลบ ต้องใส่ให้ถูกต้องไม่งั้น มันระเบิดครับ แรงด้วย น้ำยากระจายเต็มรถและเหม็นสุดๆแน่นอน ทางเลือกที่สองเอาไปร้านซ่อม TV เครื่องเสียง ให้เขาเปลี่ยนให้ครับ เน้นถ่ายรูปไว้เยอะๆ จะได้เอามาดูว่าใส่ถูกขั้ว ใส่ถูกค่ามันมั้ย อ้ออีกอย่างถอดของเก่าออกมา ถ้าเห็นมีคราบน้ำบน PCB มันคือน้ำยาที่รั่วออกมา ให้ล้างออกให้หมด ถ้าเก็บไว้มันจะกัดลายทองแดง ให้ใช้แปลงสีฟันชุบทินเนอร์แล้วปัดล้างออกครับ

ถ้ามันกัดลายทองแดงแล้วทำยังไง ??? ไม่ต้องตกใจครับ ซ่อมง่ายๆ เอาทินเนอร์ล้าง ใช้กระดาษทรายเบอร์ 1,000 ขัดๆถู เส้นไหนขาดก็ต่อกลับไม่ยากครับ (ตรงนี้ต้องเคยทำมาก่อนหรือให้ช่างทำครับ)

หลังจากนั้นทำไงต่อ …. ก็ดูแลระบบไฟฟ้าให้ดีๆ เช็คสายไฟว่าหลวมมั้ย สายกราวด์แบตเตอรี่สนิมกิน ขันไม่แน่นไหม กระแสไฟเดินสะดวกก็จะยืดอายุการทำงานของกล่องทุกๆใบในรถ เรื่องแบตเตอรี่ไว้ต่อตอน 2 ละกันครับ



เขียนบทความโดย Chaiyos Tripuwaphrut