ไดโน่ คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับวัดกำลังที่เครื่องยนต์สร้างได้ ไดโนที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไปคือแซสซีส์ไดโน คือไดโนที่เอารถขับขึ้นไปแล้วก็ทำการวัดกำลังเครื่องยนต์ได้ทันที ซึ่งก็มี 2 รูปแบบ คือแบบ Hub Wheel และแบบลูกกลิ้ง ทั้งสองแบบ จะวัดอัตราเร่งของล้อรถเพื่อคำนวนหากำลัง (Power) ที่ล้อลงมาที่ตัวไดโน พร้อมกับอ่านค่ารอบเครื่องยนต์ เพื่อเอารอบเครื่อง และกำลังเครื่อง มาคำนวนหาแรงบิดของเครื่องยนต์
ตัวอย่างที่ 1
โดยปกติ ในกราฟแสดงผลของการวัดค่าไดโน จะประกอบด้วยเส้น Power หรือแรงม้า และเส้น Torque หรือแรงบิด โดยแกนแนวนอนจะบอกรอบเครื่อง หรือความเร็วของรถ ส่วนแกนแนวตั้งฝั่งซ้ายมือคือค่าของ Power ฝั่งขวาคือแรงบิด
จากกราฟตัวอย่าง จะเห็นได้ว่า เครื่องยนต์ตัวนี้ สร้างแรงบิดได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนถึง 450 N-m ตั้งแต่รอบเครื่อง 2600 รอบ จนถึงประมาณ 3500 รอบ และกราฟของแรงบิดก็เริ่มต่ำลง แต่ไม่ได้หมายความว่าประสิทธิภาพเครื่องยนต์จะต่ำลงด้วย แต่ช่วงตั้งแต่ 3500 รอบเส้นแรงม้า ก็ยังคงมีทิศทางสูงขึ้น จนเริ่มตกลงชัดเจนที่รอบเครื่องประมาณ 4000 รอบขึ้นไป ซึ่งกราฟลักษณะนี้ แสดงให้เราเห็นว่าย่านกำลัง (Power Band) ของเครื่องตัวนี้อยู่ที่ 2600 รอบ จนถึง 4000 รอบ
ตัวอย่างที่ 2 เครื่องยนต์เทอร์โบ
กราฟนี้เป็นการวัดเทียบกับความเร็วของเครื่องยนต์เทอร์โบ ซึ่งจะแบ่งช่วงการทำงานของเทอร์โบได้ว่าที่ความเร็วต่ำกว่า 220 กม/ชม เทอร์โบยังไม่ทำงาน ไม่มีการอัดอากาศ ช่วงที่สองคือเทอร์โบเริ่มอัดอากาศที่ความเร็ว 220-240 และช่วงที่บูสสูงสุดตั้งแต่ความเร็ว 240-280 กม / ชม
ตัวอย่างที่ 3
ตัวอย่างที่ 3 นี้เป็นการเทส 2 รอบเปรียบเทียบกัน คือเส้นหนา กับเส้นบาง โดยเส้นบาง ทำการวัดจนถึงรอบเครื่องประมาณ 9800 รอบ ส่วนเส้นหนาทำการวัดจนถึงรอบเครื่องประมาณ 10800 รอบ ต่างกันประมาณ 1000 รอบ โดยรอบหลังเป็นการปรับจูนกล่อง ECU ให้ได้แรงม้าเพิ่มขึ้น โดยสังเกตุเห็นได้ว่า เส้นหนา จะอยู่สุงกว่าเส้นบางที่สีเดียวกันนั่นคือกำลังและแรงบิดที่เพิ่มขึ้นหลังจากปรับจูนกล่องไปแล้ว
ในกราฟจะเห็นได้ว่าแรงบิดเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนที่ช่วงรอบตั้งแต่ 5000 รอบขึ้นไป และตกลงที่รอบ 7000 แต่กราฟแรงม้าที่ 7000 รอบกำลังพุ่งขึ้น และเริ่มตกที่ประมาณ 9500 รอบ แสดงว่าย่านกำลังของเครื่องตัวนี้อยู่ที่ 5000-9500 รอบ
การอ่านกราฟเพื่อที่จะเปรียบเทียบการปรับจูนต้องดูที่รอบเครื่องเดียวกัน เช่นในตัวอย่างนี้ ที่รอบเครื่อง 9200 รอบ ก่อนจูนมีแรงม้า 10.20 HP และแรงบิด 7.83 N-m หลังปรับจูนแล้ว 13.42 HP (เพิ่มขึ้น 35%) และแรงบิด 10.29 (เพิ่มขึ้น 32%)
การดูกราฟแรงม้า เราไม่ควรสนใจแค่ตัวเลขแรงบิดและแรงม้าสูงสุดแต่เราจะต้องพิจารณาทรงของกราฟ เพื่อดูย่านกำลัง หรือ Power Band ของเครื่องยนต์ด้วย ที่สำคัญ chassis dyno เป็นการวัดกำลังที่ล้อรถสามารถหมุนลูกกลิ้งได้ ซิ่งกำลังที่เครื่องยนต์สร้างได้ จะต้องส่งผ่านระบบส่งกำลัง ไม่ว่าจะเป็นคลัช เกียร์ เฟืองท้าย ความเกาะของยาง แม้กระทั่งความตึงของเชือกที่รั้งรถ รวมถึงความสมบูรณ์ของไดโน ก็มีผลต่อแรงม้าที่วัดได้ ซึ่งค่าที่วัดได้จาก Chassis Dyno ของรถคันเดียวกันอาจจะแตกต่างกันได้มากถึง 3-5% ซึ่งทำให้เลขแรงม้าแรงบิดสูงสุดนั้นแตกต่างกันเล็กน้อย แต่รูปทรงและ power band ของเครื่องยนต์จะยังคงเป็นทรงเดิม
เขียนบทความโดย Saran Yim