หัวฉีด (Injector)

ทำหน้าที่เป็นวาล์วฉีดพ่นของเหลว เช่น น้ำ, น้ำมัน, สารเคมี ฯลฯ หัวฉีดมีรูปร่างที่หลากหลายขึ้นอยู่กับการออกแบบประเภทของงานที่นำไปใช้
ที่มาของภาพ : https://ua.all.biz/en/cleaning-of-an-injector-s577936
หัวฉีดระบบที่สั่งงานด้วยไฟฟ้า ที่เป็นที่นิยมและยังใช้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดโซลินอย์วาล์ว (Solenoid Valve) ซึ่งจะมีส่วนประกอบหลักๆ คือ
1. ตัวโครงสร้าง (Body) ทำหน้าที่เป็นตัวจับยึดและเชื่อมต่อส่วนต่างๆเข้าไว้ด้วยกันและทางเข้าออกของเหลว
2. วาวล์ (Valve) เป็นประตูที่ควบคุมปริมาณของเหลวให้สามารถผ่านไปได้หรือไม่ได้
3. สปริง (Spring) ทำหน้าดันให้วาล์วอยู่ในสภาวะปรกติปิด หรือสภาวะปรกติเปิด ขึ้นอยู่กับชนิดของการใช้งาน
4. ขดลวดสนามแม่เหล็ก (Electromagnetic Coil)
5. ปลั๊กเชื่อมต่อไฟฟ้า (Electrical Connector)

หลักการทำงานเบื้องต้น

ขณะที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าจ่ายเข้ามาในขดลวดสนามแม่เหล็ก สปริงจะดันให้เข็มวาล์ว (Needle Valve) อยู่ให้อยู่ในสภาวะปรกติปิด ตำแหน่งของขดลวดจะตั้งอยู่ที่ส่วนปลายอีกด้านของเข็ม เมื่อมีการจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวด ขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นและเกิดแรงดึงไปที่เข็มวาล์วให้เข็มวาล์วเคลื่อนที่เข้าหากึ่งกลางสนามแม่เหล็กของขดลวด วาล์วจะเปิดได้ก็ต่อเมื่อสนามแม่เหล็กมีแรงมากพอที่จะดึงเข็มวาล์วให้ชนะแรงของสปริง และวาล์วจะปิดลงเมื่อสนามแม่เหล็กหมดแรงที่จะเอาชนะแรงของสปริงซึ่งทำได้โดยการลดปริมาณของกระแสไฟฟ้าลงหรือหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวด

ที่มาของภาพ : https://gifer.com/en/D5Yk


เขียนบทความโดย วัยวุฒิ จรรยาคำนึง