เรื่องของน้ำมันหนาน้ำมันบาง ในรถจักรยานยนต์
ก่อนที่จะเข้าเรื่องของน้ำมันหนา น้ำมันบาง เรามาทำความรู้จัก หลักการทำงานของเครื่องยนต์รถจักรยานยนต์ก่อน โดยเครื่องยนต์มอเตอร์ไซค์จะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ โดยจะอธิบายการทำงานแบบง่าย ๆ คือ เครื่องยนต์ 2 จังหวะ จะทำงาน 2 ช่วงชัก คือ ช่วงชักที่ 1 คือ ดูดกับอัด และช่วงชักที่ 2 คือช่วงชักระเบิดและคาย
ที่มาของภาพ : http://enginecarthai.blogspot.com/2016/05/2.html
ส่วนเครื่องยนต์ 4 จังหวะ การทำงานประกอบด้วย จังหวะ ดูด อัด ระเบิด คาย โดยมีหัวเทียนเป็นตัวจุดประกายไฟ และ มีหัวฉีดเป็นตัวฉีดจ่ายละอองน้ำมันเข้าไปเพื่อใช้ในการเผาไหม้ เครื่องยนต์ประเภทนี้เป็นเครื่องยนต์ที่มีการสันดาปภายในเครื่องยนต์ มีการทำงานตามจังหวะการทำงานตามรอบเพื่อสร้างพลังงานในการไปหมุนเพลาข้อเหวี่ยงจนเกิดกำลังในการขับเคลื่อน
ที่มาของภาพ : techniccar
การที่จะทำให้เครื่องยนต์ทั้ง 2 แบบ นั้นทำงาน ต้องอาศัยการระเบิดภายในห้องเผาไหม้ แบบซ้ำ ๆ อะไรที่ทำเกิดการระเบิดภายในห้องเผาไหม้ ส่วนประกอบได้แก่ น้ำมันและอากาศและประกายไฟ แต่เราจะมาพูดถึงเรื่องน้ำมันกับอากาศก่อน
เมื่อน้ำมันและอากาศมีส่วนผสมที่พอดี การจุดระเบิดภายในห้องเผาไหม้ก็จะสมบูรณ์ หรือเรียกว่า (Perfect Combustion) ถ้าส่วนผสมน้ำมันและอากาศอย่างใดมากหรือน้อยไป ก็จะส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์
ถ้าปริมาณน้ำมันมากกว่าอากาศ เรียกว่า “น้ำมันหนา” ถ้าปริมาณน้ำมันน้อยกว่าอากาศ เรียกว่า “น้ำมันบาง”
เมื่อน้ำมันหนามากเกินไป ในช่วงเดินเบา จะทำให้เครื่องยนต์เดินเบาต่ำกว่าปกติหรือไม่เครื่องยนต์เดินเบาไม่ได้ หรือเครื่องยนต์ดับ ถ้าน้ำมันหนามากเกินไปในช่วงบิดคันเร่งเต็มจะส่งทำให้ เครื่องอาจะเกิดอาการสะดุดหรือเครื่องยนต์ไม่มีกำลัง เปลืองน้ำมัน
เมื่อน้ำมันบางมากในช่วงเดินเบาจะทำให้เครื่องยนต์ดับหรืออาจะทำให้เครื่องยนต์ร้อนกว่าปกติ ถ้าน้ำมันบางในช่วงคันเร่งเต็ม อาจทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลังหรือไม่อาจทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย จะอธิบายให้เห็นภาพโดยจะยกตัวอย่าง เครื่องตัดแก๊ส ส่วนประกอบของเครื่องยนต์ก็จะมี แก๊สและออกซิเจน “เหมือนกับเครื่องยนต์เครื่องยนต์เบนซินเลย” การที่จะตัดเหล็กได้นั้นจะต้อง ปรับส่วนผสมออกซิเจนให้มากกว่าแก๊ส จึงทำเปลวไฟเกิดความร้อนสูงสามารถตัดเหล็กได้
ที่มาของภาพ : https://pantip.com/topic/33113352
ก็เหมือนการกับเครื่องยนต์ ถ้าอากาศมากกว่าน้ำมันมาก ๆ จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้ แล้วเราจะรู้ได้ไงว่าน้ำมันหนาหรือน้ำมันบาง ดังนั้นจึงมีเครื่องมือที่เรียกว่า AFR Meter ชื่อเต็ม Air Fuel Ratio (เครื่องมือวัดอัตราส่วนผสมระหว่างอากาศต่อปริมาณน้ำมัน) บทความต่อไปเราจะมาพูดถึงเรื่องของ AFR
ที่มาของภาพ : https://siamultimateracing.com/product-detail/aem30-0300
เขียนบทความโดย อลงกรณ์ ยิมสวัสดิ์