เมื่อบอกว่า ECU=SHOP จะมาทำฟาร์ม คำถามในหัว เฮ้ย จะเป็นยังไงนะ

แต่บอกเลยโปรเจ็คนี้สนุกตั้งแต่เริ่มที่จะทำแล้ว เพราะโปรเจ็คนี้ บอสใหญ่ ของ ECU=SHOP สั่งลุยเต็มที่
ด้วยความที่เรามีประสบการณ์ด้าน อิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์มากกว่า 16 ปี แน่นอนว่าโปรเจ็คนี้ มันต้องไม่ธรรมดา

จุดเริ่มต้น

หากจะหาจุดเริ่มต้น ก็มาจากห้องประชุมเล็กๆแห่งนี้ โดยมี อาจารย์ยศ และกู๋หก ที่นั่งหัวโต๊ะ และล้อมรอบด้วยทีมงาน นักพัฒนา ทีมงานเกษตร ผู้ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับโปรเจ็คนี้ แต่ละคนก็จะมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ที่จะมาถก เสนอไอเดียกันแบบเอาจริงเอาจังกันมาก ซึ่งเมื่อระดมสมองเสร็จ ก็เข้าสู่การหาข้อมูลที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบ อัจฉริยะในฟาร์มของเรา

ด้วยความที่เราอยู่ ใน จังหวัดเชียงใหม่ มีมหาลัยเกษตร ชื่อดังอย่าง ม.แม่โจ้ เราจึงได้ทำการติดต่อ เข้าเยี่ยมชม ศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ หน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับเทคโนโลยี SMART FARM Solution จาก ผศ.ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ ถึงแนวทางการพัฒนาระบบ SMART FARM ที่ดำเนินการมากว่า 6 ปี และเข้าชมฟาร์มสาธิต

ในการเยี่ยมชมแปลงสาธิต น้องสกาย ผู้ช่วยนักวิจัย ได้อธิบายถึงระบบการให้น้ำอัตโนมัติแบบแม่นยำที่ได้ทำขึ้น เพื่อให้เห็นวิธีการจัดการน้ำสมัยใหม่ที่ให้น้ำตามความต้องการของพืช ช่วยประหยัดน้ำ สามารถจัดการการเพาะปลูกได้ดีขึ้น และควบคุมผ่านโทรศัพท์มือถือ

ระบบต่างๆในฟาร์ม ควบคุมและดูแลแบบอัตโนมัติ ด้วยระบบ iot (internet of thing) ที่ระบบต่างๆจะทำหน้าที่ควบคุม เก็บข้อมูล และสั่งการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถสั่งการจากที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้อีกทั้งเรายัง สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อวางแผนการเพาะปลูกได้อีกด้วย

ในบริเวณ พื้นที่ของคณะวิศวะ ก็มีพื้นที่โรงเรือนขนาด 8×30 เมตร ที่ใช้เป็นแปลงสาธิตการปลูกเมล่อนในโรงเรือน ซึ่งขณะที่เราไปเยี่ยมชม อยู่ระหว่างการพักแปลงปลูก

เราได้พูดคุยกับคุณท็อป ผู้จัดการแปลงปลูกแห่งนี้ ซึ่งเราก็ได้ฟัง วิธีการเพราะปลูกและการดูแลเมล่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับทีมนักพัฒนาที่จะนำมาใช้ในการสร้างฟาร์มทดลองของเรา

คือภาพแปลงปลูกที่คุณท็อปได้ส่งมาให้ดู แปลงแห่งนี้จะไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีใดๆ ซึ่งการจะปลูกแบบนี้ต้องอาศัยการดูแลใกล้ชิดเป็นพิเศษ ดูแลเหมือนลูกกันเลยทีเดียว

และสถานที่สุดท้ายที่เรามาดู คือ การปลูกพืชแบบ PFAL (Plant Factory with Artificial Lighting) คือการปลูกที่เราต้องควบคุมสภาวะที่เอื้อให้พืชเจริญเติบโตได้ดี และสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง

โดยจะควบคุม แสง อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซน์ และสารละลายธาตุ ซึ่งระบบนี้น่าสนใจมาก เพราะหากเราอยากกินสตอเบอรี่ทั้งปี หรือปลุูกพืชเขตหนาว ก็สามารถปลูกไว้ที่บ้านได้เลย

สำหรับการเข้ามาเยี่ยมชม ศูนย์ความเป็นเลิศนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ หน่วยวิจัยสมาร์ทฟาร์มและโซลูชั่นการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทางทีมงานได้เห็นพัฒนาการในด้านระบบสามาร์ทฟาร์ม ในปัจุจบัน ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อภาคการเกษตรไทย

ทางทีมงาน ขอขอบคุณ ผศ.ดร.โชติพงศ์ กาญจนประโชติ และคณะ เป็นอย่างสูง ที่ได้เล่าถึงประสบการณ์และเทคโนโลยีด้านสมาร์ทฟาร์ม

ขอขอบคุณ คุณท็อป สำหรับ ความรู้ในการปลูกเมล่อนในโรงเรือน